admin

วิธีรับมือศัตรูผิวตัวสำคัญ “แดด” ตอนเที่ยว

ใครบ้างเอ่ยกำลังเตรียมจะไปเที่ยวค่ะ หมอเองก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบท่องเที่ยวนะคะ ไม่ว่าจะไปเที่ยวภูเขา ทะเลสวยๆหรือสถานที่ใหม่ๆแปลกตา แต่กลัวดำ กลัวเป็นฝ้า ยิ่งเราทำงานด้านผิวพรรณด้วย ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนขึ้นชื่อว่าเป็นเดือนที่อุณหภูมิความร้อนสูงสุด เว้นแต่จะหนีไปเมืองนอกหลบแดดกันไปเลย แต่ด้วยสถานการณ์โควิดเราทุกคนคงต้องลืมกันไปก่อน ที่นี้เข้าเรื่อง การรับมือกับแสงแดด ตอนไปเที่ยวแบบหมอกันบ้างดีกว่านะคะ เผื่อใครอยากเอาไปปรับใช้บ้างก็ยินดีค่ะ ข้อ 1 การเตรียมตัวก่อนไปออกทริป เราต้องจินตนาการสถานที่ สภาพแวดล้อมที่เราจะเจอก่อนเลยตั้งแต่ก่อนไป เพื่อเตรียมชุด อุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น หากต้องไปทะเล ชุดที่จะใส่แต่ละวันต้องมีแต่ชุดที่เปิดผิวแน่ๆ เพราะไปทะเลเราก็คงอยากใส่ชุดว่ายน้ำกัน ดังนั้นต้องไม่ลืมชุดคลุมกันแดด แว่นตา หมวก หรือเสื้อผ้าที่มีค่า UPF (Ultraviolet Protection Factor) คือ ซึ่งเป็นค่าที่บอกความสามารถในการป้องกันรังสียูวี UV ของเสื้อผ้าค่ะ โดยเกณฑ์ดังนี้ค่ะ UPF 15-24 ถือว่าเป็นเกณฑ์ดี กันรังสี UV ได้ 93.4-95.9% เหมาะกับการอยู่กลางแดด 1 นาที – 1 ชั่วโมง UPF 25-39 ถือว่าเป็นเกณฑ์ดีมาก …

วิธีรับมือศัตรูผิวตัวสำคัญ “แดด” ตอนเที่ยว Read More »

สร้างสุขด้วยการหลับตา

ความสุขหาง่าย แค่เพียง “หลับตา” เราทุกคนมีวิธีการหาความสุขกันยังไงบ้างคะ? เชื่อว่าหลายคนจะรู้คำตอบของตัวเองดี บางคนชอบดูหนัง บางคนชอบเล่นเกม บางคนก็เป็นการช็อปปิ้ง หรือบางคนคือการออกไปเที่ยว ไปกินอะไรอร่อยๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราคนส่วนใหญ่ใช้เพื่อเป็นการแสวงหาความสุข ที่อยู่กับเราได้ไม่นานเลย เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้ตอบสนองความสุขจนหมดแล้ว เราต่างจะขวนขวายหามันในวิธีต่างๆต่อไปเรื่อยๆ หรือบางครั้งการทำให้เกิดความสุขต่อตนเองยังกลับมาทำร้ายตนเอง เช่น ต้องดิ้นรนหารายได้เพิ่มเพื่อมาสนองความสุขนั้นๆ หรือแย่กว่านั้นบางคนอาจไปเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อให้ได้มา ในสิ่งที่เราต้องการ หรือเมื่อไม่ได้ดั่งใจแต่เมื่อเห็นผู้อื่นได้สิ่งที่ตัวเองต้องการนั้น กลับยิ่งมาสร้างความทุกข์ในใจเราเอง เกิดความอยาก ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนวนอยู่ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ที่ไม่ดับลงได้ แล้วหากตั้งคำถามว่าวิธีการหาความทุกข์บ้างละ ซึ่งคงไม่ค่อยมีคนคิดสักเท่าไหร่ แต่จริงแล้วง่ายมากในความคิดหมอ เพราะการที่เราหาความสุขนั้นล้วนวนอยู่ในการนำความทุกข์มาให้เช่นกัน ฉะนั้นหากเป็นเช่นนี้ทุกข์และสุข อาจคล้ายกันก็ได้  ถ้าเราไม่อยากทุกข์เราอาจจะต้องไม่อยากสุข นั้นน่าจะเป็นสมมุติฐานที่ศาสดาของเราใช้หาหนทางดับทุกข์อาจเป็นได้ หลายคนมักพูดกันว่า พูดง่ายแต่ทำยาก แต่รู้ไหมพระพุทธองค์ท่านได้สอนวิธีดับทุกข์  อย่างหนึ่งคือการทำสมาธิ หากจะมองเผินๆ ก็แค่เป็นการนั่ง “หลับตา” แต่ถ้าค้นหาเข้าไปลึกกว่านั้นเพื่อเจอสิ่งที่เรียกว่า ความสงบ อันเป็นธรรมะในโพชฌงค์ 7 ประการ เห็นไหมค่ะ การสร้างสุขสามารถทำได้โดยตัวเราเพียงง่ายๆ แค่นี้เองค่ะ การเรียนรู้สมาธิไม่ได้หมายความว่าเราต้องปลงจากทางโลก เพราะหลายคนมีภาระหน้าที่ๆต้องรับผิดชอบ แต่การทำสมาธิเป็นวิธีที่ช่วยให้เราไปค้นหาเรียนรู้ดูแลจิตใจของตัวเราเอง ซึ่งหมอได้ลองทำแล้วดีเลยอยากจะแบ่งปันเท่านั้นเองค่ะ

ทากันแดดแล้ว ทำไมยังเป็นฝ้า

ทากันแดดแล้วแต่ทำไมเป็นฝ้า?? เครียด..หน้าไม่ใส ปัจจุบันหลายคนให้ความสำคัญกับการเลี่ยงแสงแดดกันมากเพราะทราบกันดีถึงอันตรายจากความรุนแรงของแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากโลกเราร้อนมากขึ้น แต่ยังไงหากจำเป็นต้องออกแดดคงหนีไม่พ้นตัวช่วยสำคัญคือครีมกันแดด แต่ปัญหาที่ต้องเจอคือทาแล้วก้อยังหน้าพังเป็นฝ้านี่สิ เพราะอะไรและจะแก้ไขยังไง 5 ข้อที่ช่วยให้คุณทากันแดดอย่างมีคุณภาพปกป้องผิวได้ดียิ่งขึ้น ข้อ 1 กลัวว่าหน้าจะมันเพราะกันแดด หรือรู้สึกเหนียวหน้าจนทาน้อยเกินไป เรียกว่า SPF สูงแค่ไหนจะไม่สามารถกันได้ดีแน่นอนถ้าทากันแดดไม่ถูกต้อง ทาน้อยเกิน ค่า SPF มีการกำหนดตามมาตรฐานว่าต้องใช้ถึง 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร ยกตัวอย่างขนาดใบหน้าผู้หญิงคนไทยเรา มีพื้นที่เฉลี่ยขนาดกระดาษ A5 ซึ่งเท่ากับ 14.8 x 21 เซนติเมตร หรือประมาณ 310 ตารางเซนติเมตร ดังนั้น การทากันแดดให้ได้ตามค่ามาตรฐาน 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร จึงควรทาวันละ 620 มิลลิกรัม ตัวอย่างหากเราซื้อครีมกันแดดขนาด 20 ml หรือ 20 x 1,000 = 20,000 มิลลิกรัมมาใช้ หากเราใช้ประมาณวันละ 620 มิลลิกรัม จึงควรใช้กันแดดหมด 20,000/620 = …

ทากันแดดแล้ว ทำไมยังเป็นฝ้า Read More »

กันแดดในชีวิตประจำวันเลือกแบบไหน

เข้าใจรังสี UV แบบง่ายและวิธีเลือกกันแดดที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันสไตล์หมอผิวหนัง ข้อ 1 รู้จักรังสี UV กันก่อน UV หรือรังสีอัลตราไวโอเลต จริงๆแล้วรังสี UV มี 3 ชนิด คือ UV-A รังสีคลื่นยาว , UV-B รังสีคลื่นสั้น และ UV-C ที่ถูกดูดซึมด้วยชั้นบรรยากาศจึงไม่ตกลงมายังพื้นโลก หมอขอกล่าวถึงเฉพาะ 2 ตัวแรกนะคะ ส่วนความยาวคลื่นไม่ขอเขียนถึงเพราะเราเน้นคุยกันเรื่องเกี่ยวกับผิวค่ะ UV-B รังสีคลื่นสั้น จะทำให้ผิวหนังแดงเมื่อเกิดผิวไหม้แดด หรือ  sun burn ส่วน  UV-A แม้มีพลังงานต่ำกว่า แต่เป็นรังสีคลื่นยาวจึงแทรกซอนถึงผิวชั้นลึกได้ ทำลายเส้นใยคอลลาเจนให้หดตัว อิลาสตินเสียหายเป็นสาเหตุของร่องรอยลึก ในชีวิตประจำวันเราจะสัมผัสมันโดยไม่รู้ตัวเพราะสามารถทะลุชั้นเมฆและกระจกได้ ข้อ 2 แล้วจะป้องกัน UV เลือกครีมกันแดด SPF อย่างไรดีล่ะ ไม่มีใครปฏิเสธว่าค่า SPF ยิ่งสูงจะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีกว่า เป็นเหตุผลที่ผู้ผลิตครีมกันแดดต่างแข่งขันผลิตกันแดดที่มี SPF สูงๆกัน แต่ยิ่งค่า …

กันแดดในชีวิตประจำวันเลือกแบบไหน Read More »

เงาฝ้า

รอยดำคล้ำออกสีน้ำตาลอ่อน หรือสีอมฟ้า อมม่วง ไม่ชัดเจนบนผิวหน้า มักเกิดบริเวณผิวชั้นลึกมีลักษณะดูเป็นเงาๆ หรือที่เรียกว่า “เงาฝ้า” เกิดจากกระบวนการกำจัดเม็ดสีและสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติขึ้นมา แม้ไม่ได้ไปตากแดดอยู่แต่ในออฟฟิศ ผิวหน้าเราก็สามารถเกิดเงาฝ้าได้ จากปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนผิดปกติ สิ่งเหล่านี้กระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดสีจนเกิดการสร้างเงาฝ้าได้ การกำจัดจะทำได้ยากกว่าหากเกิดในผิวชั้นลึก ซึ่งหากแนะนำอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ฝ้าลึกควรรักษาด้วยวิธีการรักษาทางการแพทย์ การทำเลเซอร์ การใช้ยาฉีดรักษา หรือการผลัดเซลล์ผิว ขึ้นกับความรุนแรงของปัญหาที่พบ ถ้าจะให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็อาจใช้วิธีข้างต้นควบคู่กับการทายาหรือครีมก็ทำได้ค่ะ ปัจจุบันมียารักษาฝ้าขายอยู่มากมาย ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกยาที่มีมาตรฐาน ผ่านอย. และควรเลือกยารักษาฝ้าประเภทที่ไม่มีส่วนผสมที่ก่อเกิดการระคายเคือง การรักษาฝ้าถึงแม้จะยากและต้องใช้เวลาในการรักษากว่าจะได้ผิวที่เนียนใสกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม แต่หากผู้ที่รักษารู้จักเลือกและมีวินัย จริงจังทำให้ต่อเนื่องแล้ว เชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอนค่ะ

5 ข้อเรื่องฝ้าน่ารู้

ข้อ 1 ฝ้าคืออะไร? ตอบ ปัญหาผิวหนังที่เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิว เม็ดสีเมลานิน ทำงานผิดปกติ มักเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคน ลักษณะเป็นรอยสีคล้ำหรือน้ำตาลบริเวณแก้ม โหนกแก้ม หน้าผาก จมูก ข้อ 2 ประเภทของฝ้าแบ่งได้กี่ชนิด มีอะไรบ้าง? ตอบ ฝ้ามี 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ฝ้าตื้น (Epidermal type)  เม็ดสีผิดปกติที่เกิดที่ผิวหนังชั้นบนสุด (ชั้นหนังกำพร้า) ทำให้ฝ้ามีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ และ เห็นเป็นขอบเขตชัดเจน ฝ้าลึก (Dermal type) เม็ดสีผิดปกติใต้ผิวชั้นหนังกำพร้า คืออยู่ในชั้นผิวหนังแท้ (ผิวหนังชั้นในใต้หนังกำพร้าอีกที) ฝ้าชนิดนี้มักจะมีสีอ่อนกว่าชนิดฝ้าตื้น โดยจะมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีน้ำตาลเทา สีม่วงอมน้ำเงิน มองเห็นขอบเขตได้ยาก บริเวณขอบๆมักมีสีกลืนไปกับผิวหนังปกติ  ฝ้าผสม (Mixed type) ผสมกันทั้งฝ้าชนิดตื้น และชนิดลึก เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ฝ้าที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นฝ้าชนิดใด (Indeterminate type) มักพบในผู้ที่สีผิวเข้มมาก หรือ คล้ำมาก …

5 ข้อเรื่องฝ้าน่ารู้ Read More »